คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายการพัฒนาคณะ
ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในแผนกลยุทธ์ 5 ปี
พ.ศ. 2561 – 2565 ไว้ดังนี้

1. ปรัชญา (Philosophy)
วิชาการและวิชาชีพดี วิจัยเด่น เน้นคุณธรรมจริยธรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล
2. วิสัยทัศน์ (Vision)
ภายในปี 2565 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ วิชาชีพและวิจัยในด้านสหวิทยาการจัดการของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและแข่งขันได้ ในระดับสากล
3. พันธกิจ (Mission)
คณะวิทยาการจัดการ กำหนดพันธกิจที่สำคัญเพื่อสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและแข่งขันได้ในระดับสากลไว้ 5 ประการดังนี้
1) ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ
2) วิจัยสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัย
3) บริการวิชาการยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนรวมถึงประกอบการให้แข่งขันได้
4) อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริม สืบสาน และยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น
5) ส่งเสริม สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
4. เป้าหมายหลักที่สำคัญ พ.ศ. 2561-2565 (Primary Goal)
1) คณะเป็นที่ยอมรับของสังคมในทางวิชาชีพ และวิจัยทางด้านสหวิทยาการจัดการ
2) มีความพร้อมทางด้านวิชาชีพและวิจัยเพื่อพัฒนาการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3) เป็นแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น
4) ส่งเสริมสืบสานอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและยกระดับคุณภาพชีวิต
5) ดำเนินรอยตามศาสตร์พระราชา เน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน รู้รัก สามัคคี โปร่งใส ตรวจสอบได้
5. เอกลักษณ์(Uniqueness)
บัณฑิตมีความเป็นเลิศทางธุรกิจ มีจิตสำนึกดี มีคุณธรรมนำวิชาการ วิชาชีพและวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน
6. อัตลักษณ์(Identity)
บัณฑิตมีความเป็นเลิศทางธุรกิจ มีจิตสำนึกดี มีคุณธรรมนำวิชาการ วิชาชีพและวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน
มีความเป็นเลิศทางธุรกิจ หมายถึง บัณฑิตมีทักษะ ความรู้ความสามารถ เก่งในด้านวิชาการและวิชาชีพทางธุรกิจตามศาสตร์ที่เรียน
จิตสำนึกดี หมายถึง บัณฑิตมีจิตใจที่ดีงามซื่อสัตย์สุจริตมีจิตอาสา
คุณธรรม หมายถึง บัณฑิตปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
นำชุมชนพัฒนา หมายถึง บัณฑิตมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งในบทบาทของผู้นำที่ดีที่มีความกล้าหาญทางจริยธรรมที่จะนำชุมชนไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าโดยวิธีการแห่งสันติภาพและเลื่อมใสศรัทธาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
7. ค่านิยมองค์การ (Core Value)
คณาจารย์และบุคลากร คณะวิทยาการจัดการมีวิสัยทัศน์ ชื่อสัตย์สุจริต จิตอาสา พัฒนาสังคม ทำงานเป็นทีม
8. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในภายนอกคณะวิทยาการจัดการ (SWOT Analysis)
คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ใช้แนวทางการประชุมโดยบุคลากรได้ร่วมกันวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่มีต่อการปฏิบัติภารกิจ เป้าหมาย การพิจารณากำหนดทิศทาง นโยบายการพัฒนาคณะ และการบริหารของคณะวิทยาการจัดการ อันจะนำไปสู่การวางแผนการดำเนินภารกิจของคณะให้บรรลุวิสัยทัศน์อย่างมีประสิทธิภาพดังนี้
8.1 จุดแข็ง (Strengths)
1. คณะมีโครงสร้างการบริหารที่ชัดเจน มีการบังคับบัญชาเป็นไปตามสายงาน
2. คณะมีการกระจายอำนาจไปยังหัวหน้าสาขาทุกสาขาเพื่อให้สาขาทุกสาขาได้มีการบริหารงานตามทักษะเฉพาะด้าน
3. คณะยึดถือปฏิบัติตามกฏ ระเบียบ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงาน
4. ทุกหลักสูตรการเรียนการสอนเป็นหลักสูตรตามมาตรฐาน TQF
5. บัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคมในด้านความรู้ ความรับผิดชอบ ความอดทนอดกลั้น ความซื่อสัตย์ และอุทิศเวลาให้กับการทำงานสูง
6. หลักสูตรของคณะอยู่ในความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน
7. คณาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มีศักยภาพในการผลิตบัณฑิตรวมทั้งบุคลากรสายสนับสนุนมีความรู้ความสามารถ มีทักษะ และความชำนาญเฉพาะด้านในการปฏิบัติงาน
8. คณะมีการสนับสนุน ส่งเสริม ให้คณาจารย์ได้จัดทำผลงานทางวิชาการและงานวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพ
9. คณะมีศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นแหล่งเรียนรู้สนับสนุนการจัดการศึกษา
10. คณะมีการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในอาชีพคณะมีการจัดทำระบบการควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคุ้มค่ากับการดำเนินงาน
11. คณะมีการทำความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการดำเนินกิจกรรมตามพันธกิจทุกด้าน
12. คณะมีการนำแนวคิดการประกันคุณภาพมาใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร
13. คณะมีระบบและกลไกในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินกิจกรรมตามพันธกิจของคณะทุกด้าน
14. คณะมีการจัดระบบการสร้างขวัญกำลังใจให้กับบุคลากร
8.2 จุดอ่อน (Weakness)
1. บางหลักสูตรยังขาดอัตรากำลังสายผู้สอนครบตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา (TQF)
2. คณาจารย์มีภาระการสอนมากทำให้ไม่เอื้อต่อการพัฒนาผลงานทางวิชาการ การวิจัย และการบริการทางวิชาการ
3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน และห้องปฏิบัติการเฉพาะทางได้ดำเนินการจัดหาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนแล้วในบ้างสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาท่องเที่ยวและการโรงแรม แต่ยังไม่เพียงพอตามความต้องการใช้จัดการเรียนการสอน เนื่องจากบางรายวิชายังคงมีความต้องการห้องปฏิบัติการเฉพาะทางที่มีอาคารสถานที่และอุปกรณ์ที่พร้อมสำหรับการเรียนการสอน
4. งบประมาณในการดำเนินกิจกรรมบางอย่างยังไม่เพียงพอ เนื่องจากการได้รับจัดสรรงบประมาณของคณะมีจำกัด
8.3 โอกาส (Opportunities)
1. การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระตุ้นให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีศักยภาพในจำนวนที่มากขึ้น
2. ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีส่งผลให้สถาบันการศึกษานำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดความทันสมัย
3. ภาวการณ์แข่งขันของสถาบันอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิตสายสังคมศาสตร์สูง
4. ระบบการประเมินประกันคุณภาพจากหน่วยงานภายนอกส่งผลทำให้สถาบันการศึกษาต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5. ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนระบบให้ทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น
8.4 ภาวะคุกคาม (Threats)
1. ค่านิยมในการศึกษาต่อของนักเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น เน้นสายครู
2. การเปิดเสรีทางการศึกษา การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้มีการแข่งขันในด้านการจัดการศึกษาที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงมีสถานศึกษาที่เป็นคู่แข่งที่เปิดสอนทางวิชาชีพธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
3. สภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ
4. นโยบายการปรับลดงบประมาณและอัตรากำลังทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ เป็นไปได้ช้า