จุดเริ่มต้นและความเป็นมา

 คณะวิทยาการจัดการ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เกิดขึ้นตามประกาศการแบ่งส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 โดยแบ่งหน่วยงานภายในออกเป็น 3 ภาควิชา คือภาควิชาการจัดการทั่วไป ภาควิชาการบัญชี ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ เพื่อผลิตบัณฑิตสายศิลปศาสตร์ระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ซึ่งสาขาวิชาที่เปิดสอนเป็นสาขาวิชาแรกคือ เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ในระยะต่อมาความต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชาชีพด้านการจัดการได้รับความสนใจจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงและบุคคลทั่วไปที่ปฏิบัติงานอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ จึงได้เปิดสอนทั้งภาคปกติ ภาคพิเศษ และภาควันเสาร์-อาทิตย์ โดยมีสาขาที่เปิดสอนประกอบด้วย สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (การตลาด) สาขาวิชาการจัดการทั่วไป (การบัญชี) สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (การตลาด) สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (การบัญชี) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
ปี พ.ศ. 2538 ได้มีพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูจึงได้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยครูบุรีรัมย์เป็นสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ ตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาเปลี่ยนเป็นคณบดี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานวิชาการเดิมจากที่เป็นภาควิชา เป็นการบริหารวิชาการแบบโปรแกรมวิชา ซึ่งสามารถเปิด-ปิดโปรแกรมวิชาได้ตามเหมาะสมในสภาวการณ์นั้น
ปี พ.ศ. 2547 มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขึ้นมาใช้แทนพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ ได้มีการแบ่งหน่วยงานตามโครงสร้างใหม่ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณบดี และศูนย์ฝึกประสบการวิชาชีพทางธุรกิจ และได้มีการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาสาขาวิชาการบริหารธุรกิจและการจัดการอย่างต่อเนื่อง และได้เพิ่มหลักสูตรและสาขาวิชาในระดับปริญญาตรีที่หลากหลายเพื่อให้ทันกับความต้องการของสังคม ดังนี้1. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
1.1 สาขาวิชาการจัดการ
1.2 สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
1.3 สาขาวิชาการตลาด
1.4 สาขาวิชาการเงินและการลงทุน
1.5 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
2. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
2.1 สาขาวิชาการบัญชี
3. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
3.1 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
4. หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
4.1 สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
5. หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
5.1 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการธุรกิจ
5.2 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจการค้าสมัยใหม่
6. หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (ระดับปริญญาโท)
6.1 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ดิจิทัล